
การเลี้ยงสัตว์ในรูปแลลของฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ใช้พละกำลังของสัตว์เป็นแรงงานในการไถนา ไถไร่ ใช้ในการทำศึกสงคราม ใช้เนื้อเป็นอาหารของมนุษย์ ใช้หนังและขนเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ ตลอดจนภาชนะให้สอยต่าง ๆ สัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและเลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลก็จะเป็น ช้าง ม้า วัว ควาย สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น
ต่อมาในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ความต้องการอาหารของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นในรูปของเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ ปริมาณไขมันต่ำ รสชาติดี หนังที่สวยมีคุณค่าและอื่น ๆ ตามจำนวนประชากรของโลก ซึ่งคาดว่าเนื้อสัตว์จะขาดแคลนและมีราคาแพงในอนาคต
นกกระจอกเทศ(Ostrich)
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้ ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 100 – 165 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 90 – 110 กิโลกรัม สูงประมาณ 1.50 – 2.50 เมตร มีลักษณะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ คือให้ผลผลิตที่มีราคานับตั้งแต่หนัง เนื้อ ขน และไข่
ในปัจจุบันได้มีการนำนกกระจอกเทศมาปรับปรุงพันธุ์ และเลี้ยงเป็นการค้าทั่วโลก (Intersive) ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และในทวีปออสเตรเลีย ในอเมริกา นั้นเลี้ยงนกกระจอกเทศมากกว่า 3000 ฟาร์ม หรือแม้แต่ในเอเชียก็มีการเลี้ยงที่ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยก็มีการเลี้ยงบ้างแต่จะเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามเสียมากกว่า
พันธุ์นกกระจอกเทศ
นักวิทยาศาสตร์ (Smith,1963) จำแนกนกกระจอกเทศออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Struthio camelus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ (North Africa)
2. Struthio molybdophanes มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบโซมาเลีย(Somalia)
3. Struthio massaicus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก(East Africa)
4. Struthio austarlis มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาใต้(South Africa)
สำหรับนกกระจอกเทศที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเลี้ยงเป็นการค้าในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.พันธุ์คอแดง (Red Neck) ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus และ S.masssaicus นกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีชมพูเข้ม ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดลำตัว ยกเว้นปลายหาง และปลายปีก จะมีสียาว ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทา มีขนาดตัวใหญ่มาก สูง 2.00 – 2.50 เมตร มีน้ำหนัก 105 –165 กิโลกรัม ให้ผลผลิต แต่ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์
2. พันธุ์คอน้ำเงิน(Blue Neck) พัฒนามาจากพันธุ์ S.molybdophanes และ S.australis พันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีฟ้าอมเทา สีขนจะเหมือนกับพันธุ์คอแดง แต่ตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า
3. พันธุ์คอดำ (Black Neck or African Black) พัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus, S.massaicus และ S.molybdophanes ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ เทาและปากสีดำ ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อย แต่ให้ไข่มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย
ลักษณะและพฤติกรรมโดยทั่วไป
นกกระจอกเทศจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี ตัวผู้มีขนาดโตมากกว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาว สวยงามมาก
สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศีรษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว บนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ไม่ใช่ขนสำหรับใช้บิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน
ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้ามักจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อหนีศัตรูธรรมชาติก็วิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า
ลักษณะการวิ่งของนกกระจอกเทศ เมื่อออกวิ่งจะยึดหัวกับคอไปข้างหน้า ปีกที่ใช้ประโยชน์ในการบินจะกางออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว ปกตินกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์อารมณ์ดี นิสัยไม่ดุร้ายมีความสนใจในสิ่งแปลกใหม่ ชอบอยู่รวมกลุ่มและไม่ทำร้ายใครก่อน แต่ค่อนข้างที่จะเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อมีเสียงดังจะตกใจวิ่งหนีออกไปอย่างรวดเร็ว ถ้ามีอะไรขวางก็จะชนทันที จึงเป็นอันตรายสำหรับตัวนกเอง แต่ถ้าคุ้นเคยก็จะเข้ามาหา ชอบใช้ปากจิกกินสิ่งแปลกใหม่และวัตถุที่สะท้อนแสง
ดังนั้น คนที่เข้าไปเลี้ยงนกกระจอกเทศหรือเข้าไปดูนกกระจอกเทศไม่ควรใส่แหวน ตุ้มหู และเครื่องประดับอื่น ๆ ที่เป็นพวกโลหะ เพชร พลอย และอื่น ๆ ที่สะท้อนแสง นกกระจอกเทศจะชอบอยู่กันแบบเงียบ ๆ ไม่ค่อยชอบส่งเสียง ไม่ร้องหนวกหู
นกกระจอกเทศถึงแม้ว่าจะมีมันสมองเล็กแต่ก็มีความสามารถในการจดจำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดี มีความสามารถจำผู้ที่เลี้ยงดูได้เป็นอย่างดี จำสถานที่พักอาศัยที่ปลอดภัยได้ดี และถ้าตกใจ หรือถูกรังแกทำร้ายจะสัตว์ชนิดใด นกกระจอกเทศจะจดจำ เมื่อจวนตัวหรือโกรธจะต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการเตะไปข้างหน้าพร้อมทั้งจึกศัตรูที่รังแก ธรรมชาติได้สร้างให้นกกระจอกเทศมีสีที่พรางตัวเป็นอย่างดีในทุ่งหญ้าแถบทะเลทราย และมีคอที่ยาวจึงสามารถมองเห็นศัตรูที่จะมาทำร้ายได้ในระยะไกล ๆ นกจะยืดหดคอและหัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลาอันเป็นการตรวจสอบระแวดระวังภัย
โดยทั่วไปแล้วนกกระจอกเทศชอบที่จะอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน มีความชื้นต่ำ ในเวลากลางวันที่แดดร้อนจัดจะหลบตามร่มเงาของต้นไม้ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระจอกเทศจะให้ประสบความสำเร็จควรจะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น ไม่มีฝนตกชุกมากนัก ความชื้นต่ำ ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนล่าง เป็นต้น
พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนชุกและความชื้นสูง พายุลมฝน และบางครั้งมีฝนตกติดต่อกันหลายวันอากาศชื้น มีลมหนาวเย็น ทำให้นกกระจอกเทศเจ็บป่วยได้
ภูมิอากาศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนกกระจอกเทศคือ ลมพายุฝน ฝนที่ตกพรำ ๆ และมีอากาศหนาว ลูกเห็บ ซึ่งในต่างประเทศที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจึงมีคอกพักที่ปิดมิดชิมให้ความอบอุ่นแก่นกกระจอกเทศ
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ(Products)
นกกระจอกเทศเมื่อมีอายุประมาณ 10 – 14เดือน น้ำหนักประมาณ 90 – 110กิโลกรัม เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด ต้นทุนการผลิตต่ำสุด
เมื่อนกกระจอกเทศอายุมากขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อจะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายถือต้นทุนในการผลิตจะยิ่งมากขึ้นด้วย ในนกกระจอกเทศหนึ่งตัวสามารถให้ผลผลิตต่าง ๆ มากมาย และมีคุณภาพดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น เนื้อ หนัง ขน หรือไข่ เพราะผลผลิตแต่ละชนิดมีความพิเศษเฉพาะตัวดังนี้
1. หนัง(Leather)
ถือว่าเป็นส่วนที่มีค่าและราคาแพงที่สุดเพราะหนังนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีเยี่ยม ดีกว่าหนังจระเข้เสียอีก นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปถึง 3 แบบ คือ
หนังส่วนแข้ง จะมีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายสัตว์เลื้อยคลานบางประเภท
หนังส่วนบริเวณต้นขา จะเป็นหนังเรียบคล้ายหนังวัว
นังบริเวณหลัง จะมีเม็ดตุ่มนูนขึ้นมา ซึ่งตุ่มนี้คือรูขุมขนนั่นเอง
หนังของนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ็กเก็ต กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด หรือ บู๊ตก็ตาม นกกระจอกเทศอายุ 10 –14 เดือน จะให้หนังที่มีคุณภาพดีที่สุด ขนาด 1.1 – 1.5 ตารางเมตร
--------------------------------------------------------------------------------
ตารางส่วนประกอบของโภชนะในเนื้อสัตว์ประเภทต่าง (คำนวณจากเนื้อสัตว์ชนิดละ 85 กรัม)
ชนิดของเนื้อ โปรตีน(กรัม) ไขมัน(กรัม) แคลอรี่(มิลลิกรัม) คอเลสเตอรอล(มิลลิกรัม)
เนื้อนกกระจอกเทศ 22.0 2.0 96.9 58.0
เนื้อนกอีมู 22.8 4.0 94.4 52.6
เนื้อวัว 23.0 15.0 240.0 77.0
เนื้อไกู่่ 27.0 3.0 140.0 73.0
เนื้อไก่งวง 25.0 3.0 135.0 59.0
เนื้อแกะ 22.0 13.0 205.0 78.0
เนื้อหมู 24.0 19.0 275.0 84.0
2. เนื้อ(Meat)
เนื้อนกกระจอกเทศจะมีสีแดงเหมือนเนื้อวัวแต่รสชาติจะอ่อนน่อมคล้ายเนื้อไก่ มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำมาก จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเส้นเลือดสูง หรือผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อวัวก็สามารถหันมาบริโภคเนื้อนกกระจอกเทศได้ อายุที่ควรส่งโรงงานแปรรูปคือ 10 – 14 เดือน มีน้ำหนักระหว่าง 90 – 110 กิโลกรัมซึ่งเมื่อชำแหละแล้วจะได้น้ำหนักซาก 50 – 55% โดยจะเป็นเนื้อที่ขาเสีย 33 – 35% นอกนั้นก็เป็นเนื้อจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จากการวิเคราะห์ พบว่าเนื้อนกกระจอกเทศมีคุณค่าอาหารที่ดี มีไขมันต่ำ(1.2%) คอเลสเตอรอลน้อย ประมาณ 600 มิลลิกรัม โปรตีนสูงกว่า 20% จะมีแมกนีเซียม 21.5 มิลลิกรัม ฟอสเฟต 208 มิลลิกรัม และโฟแทสเซียม 351.4 มิลลิกรัม
--------------------------------------------------------------------------------
3. ขน(Feather)
พัฒนาการของขนนกกระจอกเทศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเต็มที่ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเกิด เข้าสู่ระยะลูกนก แล้วเป็นนกรุ่น และไปสิ้นสุดที่นกโตเต็มวัย (Adult) ใช้เวลานาน 16 เดือน จนเมื่อนกกระจอกเทศอายุ 2 ปีขึ้นไป ขนนกจะไม่มีการพัฒนารูปแบบอีกเลย นกตัวผู้จะมีขนสีดำ ปลายปีกและหางจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ขนสีขาวบริเวณปลายปีกและหางจะมีราคาแพงที่สุด ผู้เลี้ยงสามารถตัดขนนกกระจอกเทศได้ปีละ 2 ครั้ง โดยทิ้งระยะห่างกันทุก 6 เดือน จะได้ขนนกประมาณ 1.5 – 2 กิโลกรัมโดยนำไปใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ตกแต่งเสื้อผ้า(Fashion) และที่สำคัญคือ ทำเป็นไม้ปัดฝุ่นสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่บอบบางต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
--------------------------------------------------------------------------------
4.ไข่(Eggs)
ไข่นกกระจากเทศเมื่อโตเต็มที่มีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 950 – 1680 กรัม ยาว 15 – 17 เซนติเมตร กว้าง 12 – 15 เซนติเมตร เปลือกไข่สีขาวนวล หนา 2 – 3 มิลลิเมตร เนื้อไข่สามารถนำไปบริโภคได้เช่นเดียวกับไข่เป็ดหรือไข่ไก่ หากต้องการต้มไข่นกกระจอกเทศจะใช้เวลาประมาณ 60 – 80 นาทีจึงจะสุก หรือจะนำไปทอดหรือเจียวก็ได้ นอกจากคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว เปลือกไข่ยังสามารถนำไปแกะสลักหรือวาดลวดลายบนเปลือกไข่ เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านจะเห็นได้ว่านกกระจอกเทศมีคุณสมบัติที่ดี เช่นน ลองมาพิจารณาวิธีการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มนกกระจอกเทศเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจต่อไป
ี้ ตารางเปรียบเทียบคุณค่าอาหารในไข่นกกระเทศ และ ไข่ไก่
ชนิด ไข่นกกระจอกเทศ ไข่ไก่
ไข่ขาว(Albumen) % 59.4 58.1
น้ำ% 88.7 87.9
โปรตีน% 8.9 10.6
ไข่แดง(Yolk)% 20.9 31.8
น้ำ% 50.6 48.7
โปรตีน% 15.0 16.6
ไขมัน% 31.3 2.6
เปลือกไข่% 19.5 10.1
--------------------------------------------------------------------------------
การผสมพันธุ์นกกระจอกเทศ(REPODUCTION)
นกกระจอกเทศจะถึงวัยหนุ่มสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อตัวผู้อายุ 3 ปี ตัวเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพ่อ – แม่พันธุ์นกกระจอกเทศมีความสมบูรณ์แข็งแรง มีการจัดการที่ดี จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 40 ปี
ในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศเพศผู้ซึ่งมีขนสีดำ ปลายทางและปลายปีกขาว จะมีสีดำและขาวเป็นมันเงา ปาก ขอบตา และแข้งจะมีสีชมพูเข้ม ตัวเมียสีของขนจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คงเป็นสีน้ำตาลเทาเช่นเดิม โดยธรรมชาติพ่อนกกระจอกเทศจะคุมฝูงตัวเมียได้หลายตัว แต่จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่เป็นคู่แท้ ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวสำรองไป(Secondary Hens) การเลี้ยงในระบบฟาร์มจะจัดตัวเมียให้เป็นคู่ผสมพันธุ์เพียง 1 – 3 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์
นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการเป็นสัดโดยการนั่งลงบนพื้นบนข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไปตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการเป็นสัดโดยจะกางปีกออกสั่น แต่ไม่นั่งเหมือนตัวผู้
วิธีผสมพันธุ์
เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวอยู่บนพื้น แต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้งขึ้น แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมียเพื่อสอกใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งจะใช้เวลาผสมพันธุ์นานเพียง 1 – 3 นาที
แต่หากเลี้ยงนกกระจอกเทศเพศผู้และเพศเมียรวมกันก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ ควรจะแยกตัวผู้ออกจากฝูงตัวเมีย โดยไม่ให้ตัวผู้ได้มีโอกาสเห็นตัวเมียเลย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ฮอร์โมนเพศของตัวผู้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การผสมติดดียิ่งขึ้นด้วย
ฤดูผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศในเมืองไทยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมีนาคม แต่ก็ยังไม่ได้สรุปเป็นที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยอย่างไรขึ้นกับ
1. อาหารมีคุณภาพดี และเหมาะสม
2. ความสมบูรณ์ของนก
3. อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อควรพิจารณาความเหมาะสมของคู่ผสมพันธุ์ ให้พิจารณาจาก
1. ปริมาณไข่ต่อปี
2. อัตราของไข่มีเชื้อ
3. อัตราการฟักออกเป็นตัว
4. อัตราการตายของลูกนก
การฟักไข่นกกระจอกเทศ
ผู้เลี้ยงนกกระจอกเทศควรจะรู้และเข้าใจเรื่องกระเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกกระจอกเทศตลอดระยะฟักจนออกมาเป็นตัว การฟักไข่นกกระจอกเทศทำได้ 2 วิธี คือ
1. ฟักแบบธรรมชาติ หรือให้แม่นนกกระจอกเทศฟักไข่เอง
2. ฟักไข่ด้วยเครื่องฟัก(Incubator)
การฟักไข่แบบธรรมชาติ
แม่นกกระจอกเทศจะเลือกออกไข่ในบริเวณที่โล่งแจ้งบนเนินสูงจากระดับพื้นปกติเล็กน้อยเพื่อมองเห็นศัตรูได้ทุกด้าน และเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมไข่ในขณะที่ฟักไข่
แม่นกกระจอกเทศจะออกไข่เป็นชุด(Clutch) ชุดละประมาณ 12 – 18 ฟอง หลังจากนั้นแม่นกกระจอกเทศจะนั่งฟักไข่ในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ 09.30น. ถึง 16.30น. หลังจากนั้นจะเปลี่ยนให้พ่อนกกระจอกเทศช่วยฟักในเวลากลางคืน
ในช่วงเวลาที่พ่อ – แม่นกกระจอกเทศเปลี่ยนเวรกันฟักไข่นี้เองจะมีการกลับไข่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับไข่ที่ถูกฟักอยู่เพราะจะได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง อุณหภูมิที่ไข่ฟักได้รับจากพ่อ – แม่นกกระจอกเทศอยู่ระหว่าง 38+0.2 องศาC ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 33.5% และใช้เวลาฟักไข่นานถึง 42 วัน
การฟักไข่ด้วยเครื่องฟักไข่
โดยทั่วไปแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ทุกวันเว้นวัน ดังนั้นหากในแต่ละชุดผสมพันธุ์ (Set) ที่มีพ่อนกกระจอกเทศ 1 ตัวต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 – 3 ตัว แม่นกอาจจะออกไข่พร้อมกันในวันเดียวกัน หรือสลับวันกันออกไข่ก็ได้
เมื่อพบว่าแม่นกออกไข่มาแล้วให้รีบเก็บไข่ออกทันที เพื่อไม่ให้ไข่อยู่บนพื้นนานเกินไป เพราะจะทำให้ไข่สกปรก และมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์แทรกซึมเข้าไปในไข่ ทำให้เชื้ออ่อนแอถึงตายได้
หลังจากนั้นให้หาไข่ปลอมที่มีรูปร่างลักษณะและน้ำหนักเหมือนไข่นกกระจอกเทศมาวางไว้แทนเพื่อกระตุ้นให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่เรื่อย ๆ ในที่เดียวกัน ปกติแม่นกกระจอกเทศจะออกไข่ปีละ 40 – 80 ฟอง แต่ก็มีบางฟาร์มที่สามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 100 ฟองต่อแม่นกกระจอกเทศ 1 ตัว
ไข่นกกระจอกเทศจะมีลักษณะกลมรี โดยมีความกว้างและยาวเกือบจะเท่ากัน เปลือกไข่สีขาวครีม และมีรูระบายอากาศใหญ่เห็นชัดเจนขนาดและน้ำหนักของไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์
ซึ่งในระหว่างการฟักน้ำหนักไข่จะหายไป 11 – 15 %
วิธีการเลือกไข่ฟัก
ไข่ฟักเป็นผลจากการผสมพันธุ์ จึงย่อมมีผลทางการสืบสายเลือดตามลักษณะที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหน่วยสืบพันธุ์ นั่นคือลูกย่อมได้ลักษณะต่าง ๆ ทั้งของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ซึ่งมีทั้งลักษณะเลว การเอาไข่เข้าฟักจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพของพ่อแม่พันธุ์ด้วย
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกไข่ฟัก
1. ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงนกกระจอกเทศที่ไม่เป็นโรค
2. พ่อแม่พันธุ์จะต้องสมบูรณ์แข็งแรง
3. ต้องมีลักษณะที่ควรเป็นไข่ฟักคือ เปลือกไข่สะอาด ผิวเปลือกไม่ขรุขระ รูปไข่ไม่บูดเบี้ยวหรือแตกร้าว เป็นต้น
การเก็บรักษาไข่ฟัก
พยายามเก็บไข่ออกทันทีที่แม่นกกระจอกเทศออกไข่ แล้วนำไปเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องเก็บไข่ที่อุณหภูมิ 18 – 20 องศา C เพื่อรอนำเข้าตู้ฟักไข่ และจะเก็บไว้นานไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างที่รอเข้าฟักนี้ควรที่จะมีการกลับไข่ด้วยอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งและจะต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกร้าว
การล้างไข่
ในการฟักไข่เป็ดหรือไข่ไก่มักจะไม่ทำการล้างไขก่อนนำเข้าฟัก แต่สำหรับไข่นกกระจอกเทศแล้วจะทำทั้งการล้างไข่และไม่ล้าง ซึ่งก็มีเหตุผลและความเชื่อแตกต่างกันไป บ้างก็เกรงว่าน้ำจะเข้าไปในไข่ ทำให้ไข่เน่า แต่สำหรับพวกที่ล้างไข่ก็เมื่อให้มั่นใจว่าไข่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์เกาะอยู่บนเปลือกไข่
การล้างไข่จะทำทันทีที่เก็บไข่ออกมาจากคอกนก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อผสมในน้ำอุ่น (40 – 42 องศา C) นำไข่ลงไปล้าง แล้วใช้แปรงขนอ่อนขัดบนเปลือกไข่จากนั้นนำไปผึงให้แห้งโดยไม่ต้องใช้ผ้าเช็ด
สำหรับน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะใช้ล้างไข่ได้ไม่เกิน 6 ฟอง เมื่อเปลือกไข่แห้งแล้วให้นำเข้าไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บเพื่อรอการเข้าฟักต่อไป
เนื่องจากไข่ถูกเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 18 – 20 องศา C มาเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ จะต้องนำไข่ที่เก็บไว้ออกมาไว้นอกห้องอย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง เพื่อให้ไข่ปรับตัวเข้าสู่อุณหภูมิปกติเสียก่อน(Preheat) เพราะหากนำเข้าตู้ฟักทันที จะทำให้อุณหภูมิของไข่ฟักเปลี่ยนแปลงจากเย็นเป็นร้อนอย่างกะทันหัน จะทำให้เชื้อตายได้
การฟักไข่ หลักใหญ่ของการฟักไข่ก็คือ ให้ความอบอุ่นแก่ไข่ฟักให้สม่ำเสมอตลอดเวลา และทำสิ่งแวดล้อมให้เป็นผลดีต่อการเจริญของเชื้อลูกนก เพื่อให้เปอร์เซ็นต์ฟักออกมาเป็นตัวให้มากที่สุด
--------------------------------------------------------------------------------
ปัจจัยทั่ว ๆ ไปที่ช่วยให้การฟักไข่เป็นผลดีคือ
1. อุณหภูมิหรือความร้อน (Temperature)
ที่เหมาะสมที่ช่วยให้เชื้อลูกนกเจริญเป็นตัวลูกนกและออกจากไข่อย่างปกติ ซึ่งความร้อนมีความสัมพันธ์กับเชื้อลูกนกดังนี้
1.1 เปอร์เซ็นต์การฟักออกมากหรือน้อย
1.2 การฟักออกช้าหรือเร็ว
1.3 ขนาดของเชื้อลูกนกระหว่างฟัก ถ้าความร้อนต่ำเชื้อลูกนกจะเจริญเติบโตช้า
1.4 ขนาดของลูกนกที่ฟักออก การเร่งความร้อน หรือใช้ความร้อนสูงไป ลูกนกจะออกเร็วกว่าปกติ แต่จะได้ลูกนกที่มีขนแห้งเกรียน และขนาดตัวเล็ก
1.5 เปอร์เซ็นต์เชื้อตาย และอัตราการตายของลูกนกสูงมากถ้าใช้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ
ตารางการสูญเสียน้ำหนักไข่ในระหว่างการฟัก
อายุไข่ฟัก(วัน) น้ำหนักที่สูญหาย (%) น้ำหนักไข่(%)่
0 0.00 100.00
7 2.35 97.65
14 4.78 95.22
21 7.29 92.71
28 9.89 90.11
35 12.57 87.43
41 15.00 85.00
1.6 ถ้าใช้ความร้อนต่ำไป ลูกนกจะออกมาช้า เปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำ ลูกนกจะอ่อนแอ
2. ความชื้น (Humidity)
ความชื้นที่เหมาะสมช่วยให้การเจริญเติบโตของเชื้อลูกนกเป็นไปโดยปกติ หากความชื้นน้อยไป ลูกนกจะแห้งติดเปลือกตาย ความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ลูกนกมีขนแห้ง ฟูสวย ไม่ติดเปลือก
นอกจากนี้ความชื้นยังเป็นตัวกำหนดปริมาณการสูญหายของน้ำหนักไข่ในระหว่างการฟักอีกด้วย
ตู้ฟักไข่นกกระจอกเทศ โดยทั่วไปมักจะแยกตู้ฟัก(Setter) และตู้เกิด(Hatcher) ออกจากกัน เพื่อสะดวกในการทำงานและการควบคุมอุณหภูมิโดยนำไข่เข้าตู้ฟักนาน 38 – 39 วัน หลังจากนั้นจะนำไปไว้ในตู้เกิดซึ่งไม่มีการกลับไข่ (Turning) อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 35.5 – 37 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์ 25%
3. การระบายอากาศ (Ventilation) ขณะที่ลูกนกยังเจริญเติบโตอยู่ในไข่ ร่างกายต้องใช้ไข่แดงและไข่ขาวไปสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การที่สิ่งเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงให้เกิดปฏิกิริยาละลายเข้าในระบบการดูดซึมของตัวลูกนกได้ จำเป็นต้องใช้ออกชิเจนไปทำปฏิกิริยาแก่สิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ส่วนที่เป็นก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกขับออกทางเปลือก หากไม่มีการระบายอากาศออก จะทำให้ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อลูกนก
การระบายอากาศจึงเป็นการช่วยให้ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตู้ฟัก และหมุนเวียนให้อากาศออกชิเจนเข้าไปถึงเชื้อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%
4. การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการตายของลูกนกขณะที่ฟักไข่ในระยะแรกได้มาก ควรจะกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 –3 ครั้งหลังจากย้ายไข่ไปไว้ในตู้เกิดก็จะไม่กลับไข่อีกเลย
5. การส่องไข่ (Candling)
การส่องไข่ก็เพื่อคัดเอาไข่ที่ไม่มีเชื้อ ไข่เชื้อตาย และไข่เสียออกจากตู้ฟักไข่เสียก่อนที่ไข่จะเน่าและส่งกลิ่นเหม็นในตู้ฟักซึ่งเป็นผลเสียต่อไข่ใบอื่น ๆ
สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2 – 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 10 – 14 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอาจส่องดูอีกครั้งเมื่อฟักไปแล้ว 20 – 21 วัน และครังสุดท้ายเมื่อจะย้ายไปยังตู้เกิด
เนื่องจากไข่นกกระจอกเทศมีเปลือกไข่ที่หนาและแข็งมาก ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องส่องไข่เพื่อดูการพัฒนาของตัวอ่อนจะต้องใช้กำลังไฟสูงมากและถ้าจะให้เห็นชัดเจนควรส่องดูในห้องมืด และไม่ควรส่องไข่เล่นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากความร้อนจากเครื่องส่องไข่จะมีผลต่อตัวอ่อนในไข่ได้
--------------------------------------------------------------------------------
การคัดเพศ
นกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกับสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ ที่มีอวัยวะเพศอยู่ภายใน ดังนั้นการคัดเพศเมื่อนกกระจอกเทศอายุน้อย จึงอาจใช้วิธีปลิ้นก้น เพื่อดูอวัยวะเพศ โดยในตัวผู้จะมีเดือยเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมา ส่วนตัวเมียจะไม่มีเดือยแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นนกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว จะสังเกตได้จากเวลาที่นกกระจอกเทศขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะเห็นเครื่องเพศขนาดยาก 3 – 4 เซนติเมตรโผล่ออกมาด้วย
นอกจากนี้อาจจะสังเกตได้จากสีขน ถ้าเป็นนกกระจอกเทศเพศผู้จะมีขนสีดำ ปลายปีกและหางสีขาว สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว โดยทั่วไปนกกระจอกเทศตัวผู้จะตัวใหญ่กว่านกกระจอกเทศตัวเมีย
ตารางขนาดของอวัยวะเพศของนกกระจอกเทศเพศผู้ที่อายุต่าง ๆ
อายุ(เดือน) ขนาด(เซนติเมตร)
แรกเกิด 0.5 – 0.8
1 น้อยกว่า 3
2 – 10 มากกว่า 3
12 4
16 – 18 25
มากกว่า 24 29 – 39
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น