วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

นกกระทาู


พันธุ์นกกระทา

นกกระทาเป็นนกจำพกย้ายถิ่น จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับไก่และไก่ฟ้า นกกระทามีอยู่ทั่วไปในเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอยู่มากมายหลายพันธ์ สำหรับในเมืองไทยนั้นมีอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด คือ
1. นกกระทายุโรป European Quail เป็นนกย้ายถิ่นที่มีอยู่ทั่วไปในยุโรป แอฟริกา และเอเซีย
2. นกคุ่มอกดำ Black-breasted Quail
3. นกคุ่มสี Painted Quail
4. นกกระทาทุ่ง Francolin
5. ไก่นวบ Long-billed Partidge
6. นกกระทาดงคอสีแสด Rufous-throaled Tree-Partridge
7. นกกระทาดงอกสีน้ำตาล Brown-breasted Tree Partridge
8. นกกระทาดงจันทร์บูรณ์ Cambodia Tree Partridge
9. นกกระทาดงแข้งเขียว Green-legged Tree partridge
10. นกกระทาสองเดือย Ferruginous Wood Partridge
11. ไก่จุก Crested Wood Partridge
12. นกกระทาป่าไผ่ Crested Wood Partridge


นอกจากนี้ยังมีนกอีก 3 ชนิด ซึ่งไม่ใช่นกกระทาแท้แต่มีรูปทรงและลวดลายสี ขนเช่นเดียวกับนกกระทา เพียงแต่มีขนาดตัวเล็กกว่าเท่านั้น นกดังกล่าวนี้ชาวบ้านเรียกว่า นกคุ่ม ซึ่งได้แก่
1. นกคุ่มอกเล็ก Little button Quails
2. นกคุ่มอกใหญ่ Yellow-legged button Quails
3. นกคุ่มอกลาย Barred button Quails



และสำหรับพันธุ์นกกระทาที่สำคัญ ๆ และรู้จักกันดีในปัจจุบัน ได้แก่
1. นกกระทาเวอร์จีเนีย Bobwhite quail
2. นกกระทาแคลิฟอร์เนีย California quail
3. นกกระทายุโรป European quail
4. นกกระทาญี่ปุ่น Japanese quail

นกกระทาญี่ปุ่น

เป็นพันธ์ที่ใช้เลี้ยงเอาไข่เป็นการค้า นกพันธุ์นี้มีขนาด รูปร่าง สีสัน คล้ายกับนกคุ่มและนกกระทาพันธ์พื้นเมืองเรามากมีขนาดตัวเท่ากับกำปั้นขนาดกลาง สีขนลายน้ำตาลเข้ม แต่นกกระทาญี่ปุ่นไข่ดกกว่ามาก ตัวเมียจะมีขนสีเท่าด้านล่าง และมีขนที่คอสีดำหรือคำคล้ำ ส่วนตัวผู้จะมีขนสีแดงตอนด้านล่างของลำตัว ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเมื่ออายุ 30 วัน จึงสามารถแยกออกจากกันได้ง่ายและนำไปเลี้ยงขายเป็นนกกระทาเนื้อหรือนกกระทากระทง แบบไก่กระทงซึ่งเนื้อมีรสชาติไม่แพ้นกกระทาตามธรรมชาติในบ้านเรา
จากการที่ได้ศึกษาการเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่นในบ้านเรา พบว่าเลี้ยงไม่ยากนักการเจริญเติบโตดี ให้ไข่เร็วและไข่ตก ไม่ค่อยมีโรครบกวน ใช้พื้นที่การเลี้ยงต่อตัวก็น้อย และถ้าสามารถหาตลาดจำหน่ายไข่และเนื้อได้ก็น่าจะให้ความสนใจในการเลี้ยง เพราะเป็นอาชีพที่มีอนาคตแจ่มใสมากในสภาพปัจจุบัน

นกกระทาญี่ปุ่น

1. อายุและน้ำหนักตัว (ประมาณ) อายุ 1 วัน จะมีน้ำหนักประมาณ 7 กรัม อายุ 42 วัน จะมีน้ำหนักประมาณ 120 กรัม อายุ 50 วัน จะมีน้ำหนักประมาณ 140 กรัม
2. กินอาหารตัวละ 14-18 กรัมต่อวัน
3. เริ่มไข่เมื่อมีอายุ 42 วัน
4. โตเต็มที่มีอายุ 50 วัน
5. น้ำหนักไข่ 8-12 กรัม (7% ของน้ำหนักตัว)
6. อายุฟักออกจากไข่ 16-19 วัน

อย่างไรก็ตาม นกกระทาก็ยังนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะได้นำมาเลี้ยง ในบ้านสำหรับกินไข่แทนไก่พันธุ์ไข่ ถ้ามีไข่มากก็สามารถนำไปขายเป็นรายได้ของครอบครัวได้ เพราะว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย โตเร็ว ไม่ต้องการเนื้อที่มาก และไม่ต้องลงทุนมาก เช่น ไก่พันธุ์ไข่อีกด้วย


ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา นกกระทาญี่ปุ่นมีลักษณะที่ตรงกับความต้องการทางเศรษฐกิจอยู่หลายประการด้วยกันคือ


1) ผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินค่อนข้างสูงเพราะนกกระทาโตเต็มวัยได้เร็วใช้เวลาเพียง 45 วันหรือ 1 ใน 5 ของแม่ไก่ไข่ก็เริ่มให้ไข่แล้ว ( แม่ไก้ใช้เวลา 10 - 11 เดือน )
2) ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง ดังที่เราเรียกว่า "นกตัวเล็กแต่ให้ไข่ดก" โดยนกกระทาจะให้ไข่ประมาณ 8 % ของน้ำหนักตัว ในขณะที่แม่ไก้ให้เพียง 3% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 70 % (ในญี่ปุ่น 78 %) สูงกว่าไก่เล็กน้อย
3) การผลิตนกกระทาทำให้เกิดธุรกิจแบบต่อเนื่องเกิดขึ้นอีกหลายอย่างเช่น การผลิตไข่ และนกเนื้อ ในปัจจุบันญี่ปุ่นสามารถจะแยกการเลี้ยงเป็น 2 แบบ คือ นกไข่และนกเนื้อ (นกกระทา) ทำกันเป็นอุตสาหกรรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ
4) สามารถจะทำการผลิตให้เป็นขนาดใหญ่แบบอุตสาหกรรมได้ดังเช่น การสร้างโรงงานไข่นกกระทาบรรจุกระป๋องที่ จ. พิจิตร โดยมีตลาดรองรับทั้งในและนอกประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างงานให้กับเกษตรกรในบริเวณนั้นขึ้นอีกมาก
5) ธุรกิจชนิดนี้ทำกำไรให้แก่ผู้ผลิตอย่างเป็นที่น่าพอใจโดยเฉพาะต่อเกษตรกร ไทยที่ยังต้องการหารายได้เพิ่มเติมอีกมาก
6) การเลี้ยงนกกระทากลายเป็นธุรกิจแบบปราณีต (intersive) คือใช้ เนื้อที่ เพียง 3.3 ตารางเมตรก็เลี้ยงนกได้ถึง 600 - 700 ตัว
7) อัตราส่วนพลังงานต่ออาหารโปรตีน (C :P) ประมาณ 23 - 25 % ซึ่งสูงมาก
8) มูลของนกถือได้ว่าเป็นปุ๋ยชนิดดี เป็นผลพลอยได้และช่วยบำรุงดินให้ แก่การเพาะปลูกของเกษตรกรพร้อมกันไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น